เมนู

3. สัททสูตร


ว่าด้วยสมัย 3 อย่าง


[260] ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เสียง (ที่เกิดขึ้นเพราะปีติ) ของเทวดา
3 อย่างนี้ ย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัยแต่สมัย 3 อย่าง
เป็นไฉน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใด พระอริยสาวกย่อมคิดเพื่อจะปลงผม
และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต ในสมัยนั้น เสียงของ
เทวดาย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาว่า พระอริยสาวกนี้ย่อมคิดเพื่อทำสงคราม
กับมาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเสียงของเทวดาข้อที่ 1 ย่อมเปล่งออกไป
ในเหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัยแต่สมัย.
อีกประการหนึ่ง ในสมัยใด พระอริยสาวกประกอบความเพียรในการ
เจริญโพธิปักขิยธรรม 7 ประการ ในสมัยนั้น เสียงของเทวดาย่อมเปล่งออก
ไปในเหล่าเทวดาว่า พระอริยสาวกนั้นทำสงครามกับมาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นเสียงของเทวดา ข้อที่ 2 ย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัย
แต่สมัย.
อีกประการหนึ่ง ในสมัยใด พระอริยสาวกกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ในสมัยนั้น เสียงของเทวดาย่อมเปล่งออกไปในเหล่า
เทวดาว่า พระอริยสาวกนี้พิชิตสงความ ชนะแดนแห่งสงครามนั้นแล้ว
ครอบครองอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเสียงของเทวดาข้อที่ 3 ย่อมเปล่ง
ออกไปในเหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัยแต่สมัย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เสียง เทวดา 3 ประการนี้แล ย่อมเปล่งออกไป
ในเหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัยแต่สมัย.

แม้เทวดาทั้งหลาย เห็นสาวกของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ชนะสงครามแล้ว
เป็นผู้ใหญ่ ปราศจาความครั่นคร้าม
ย่อมนอบน้อมด้วยคำว่า ข้าแต่ท่านบุรุษ
อาชาไนย ขอนอบน้อมแด่ท่านผู้ครอบงำ
กิเลสที่เอาชนะได้ยาก ชนะเสนาแห่งมัจจุ
ที่กางกั้นไว้มิได้ด้วยวิโมกข์ เทวดาทั้งหลาย
ย่อมนอบน้อมพระขีณาสพผู้มีอรหัตผลอัน
บรรลุแล้วนี้ ด้วยประการฉะนี้ เพราะ
เทวดาทั้งหลายไม่เห็นเหตุ แม้มีประมาณ-
น้อย ของพระขีณาสพผู้เป็นบุรุษอาชาไนย
นั้นอันเป็นเหตุให้ท่านเข้าถึงอำนาจของ
มัจจุได้ ฉะนั้น จึงพากันนอบน้อมพระ
ขีณาสพนั้น.

จบสัททสูตรที่ 3

อรรถกถาสัททสูตร


ในสัททสูตรที่ 3 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เทเวสุ ความว่า เว้นเทพที่เป็นอรูปาวจร และเทพที่เป็น
อสัญญีทั้งหลาย ในอุบัติเทพอื่นจากนั้น. บทว่า เทวสทฺทา ได้แก่ เสียง
ที่ประมวลมาจากปีติของเทวดาทั้งหลาย. บทว่า นิจฺฉรนฺติ ได้แก่ เปล่งออก
ไปด้วยสามารถแห่งการสนทนาปราศรัยกัน. บทว่า สมยา สมยํ อุปาทาย
ความว่า อาศัยสมัยที่เหมาะสม มีคำอธิบายว่า เทวดาทั้งหลายดำรงอยู่ในกาลใด